แชร์

มะเร็งระบบทางเดินปัสสาวะ และอวัยวะสืบพันธ์ุชาย

อัพเดทล่าสุด: 18 เม.ย. 2024
187 ผู้เข้าชม

มะเร็งระบบทางเดินปัสสาวะ และอวัยวะสืบพันธ์ุชาย

ระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ชาย ประกอบด้วย

  1. ไต กรวยไต และท่อไต
  2. กระเพาะปัสสาวะ
  3. ต่อมลูกหมาก
  4. อวัยวะเพศชาย หรือองคชาติ
  5. ลูกอัณฑะ
  6. ถุงอัณฑะ

---

สาเหตุการเกิดโรค

สาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็ง พอสรุปได้ดังนี้ คือ

  • อายุ มะเร็งของไต กระเพาะปัสสาวะ มักพบในคนอายุมาก 50-70 ปี มะเร็งขององคชาติ พบในคนวัยกลางคนและมะเร็งอัณฑะพบในวัยหนุ่ม
  • มะเร็งของไต และกรวยไต เกิดร่วมกับการอักเสบเรื้อรังและนิ่วในไต จากการกินยาแก้ปวดประเภทฟินาซีตินมากเกินไป
  • มะเร็งของกระเพาะปัสสาวะ เกิดบ่อยในคนที่สูบบุหรี่จัด คนที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรมสีย้อมผ้า คนที่มีการอักเสบเรื้อรังหรือเป็นนิ่วในกระเพาะ ปัสสาวะ
  • อาหารที่มีไขมันมาก หรือสาเหตุทางพันธุกรรม อาจมีส่วนทำให้เกิดมะเร็งของต่อมลูกหมาก
  • ลูกอัณฑะที่ไม่ลงมาในถุงอัณฑะ มีอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งสูง
  • การเสียดสีเรื้อรัง ทำให้เกิดแผลไม่หายแล้วกลายเป็นมะเร็ง เช่น มะเร็งของ ถุงอัณฑะ

---

อาการ

  • ปัสสาวะเป็นเลือด ลิ่มเลือด พบในมะเร็งกระเพาะปัสสาวะและมะร็งของไต
  • ปัสสาวะขัด ต้องเบ่ง หรือปัสสาวะออกกระปริบกระปรอย พบในมะเร็งของต่อมลูกหมาก
  • มีแผลเรื้อรังชนิดเลือดออกง่ายและกลิ่นเหม็น
  • หนังหุ้มอวัยวะเพศหรือหนังหุ้มลึงค์ไม่เปิด และมีอาการคันภายในหรือมีเม็ดที่คลำได้
  • บริเวณที่มีการเสียดสีมีการอักเสบไม่หาย เช่น มะเร็งถุงอัณฑะ
  • มีก้อนคลำได้ชัดเจนบริเวณสีข้าง (บริเวณไต) หรือบริเวณท้องน้อยเหนือ หัวเหน่า (บริเวณกระเพาะปัสสาวะ)
  • มีก้อนและคลำได้ที่ลูกอัณฑะ กดไม่เจ็บ และก้อนโตเร็ว
  • ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบหรือซอกคอโต พบในรายที่มะเร็งกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผอมลง ไอ ปวดกระดูก พบในระยะที่มีการกระจายของมะเร็งไปแล้ว 

---

การวินิจฉัย

  • โดยการตรวจร่างกาย เอ็กซเรย์ หรือเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์
  • โดยการคลำต่อมลูกหมากทางทวารหนัก
  • โดยการส่องกล้องดูภายในกระเพาะปัสสาวะและต่อมลูกหมาก
  • โดยการขลิบ หรือ ตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งพิสูจน์ทางพยาธิวิทยา

---

การรักษา

การรักษาขึ้นอยู่กับระยะของโรค โดยทั่วไปแล้วการรักษาประกอบด้วย

  1. การผ่าตัดผ่าตัดอวัยวะที่เป็นมะเร็งออกทั้งอันหรือบางส่วน เช่น ตัดไต อัณฑะข้างที่เป็น หรือตัดอวัยวะเพศออกทั้งหมดหรือบางส่วน
  2. ผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้องใช้ไฟฟ้า เช่น ในมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก
  3. ตัดอัณฑะออกทั้ง 2 ข้าง หรือรับประทานฮอร์โมนเพศหญิง เช่น ในรายที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
  4. เคมีบำบัดโดยการรับประทานหรือฉีดเข้าเส้นเลือด ส่วนการใช้ยาเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะนั้น ใช้ในกรณีที่เป็นมะเร็งของกระเพาะปัสสาวะ
  5. รังสีรักษา
  6. วิธีผสมผสาน ทั้งการผ่าตัด เคมีบำบัด และรังสีรักษา

---

การป้องกัน

  • รักษาความสะอาดอวัยวะเพศ ในกรณีหนังหุ้มลึงค์ไม่เปิด ควรผ่าตัดขลิบ หนัง เพื่อจะได้ทำความสะอาดได้ทั่วถึง เป็นการป้องกันมะเร็งขององคชาติ
  • ลูกอัณฑะที่ไม่ลงในถุงอัณฑะ ควรรีบปรึกษาแพทย์
  • หากมีก้อนเนื้อผิดปกติ หรือแผลเรื้อรังบริเวณอวัยวะเพศ ควรรีบรักษา
  • หลีกเลี่ยงสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็งและมลภาวะที่เจือปนอยู่ในอาหาร น้ำ และอากาศ
  • งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่น หรือบริโภคเนื้อสัตว์ที่ ไหม้เกรียม อาหารไขมันสูง
  • บริโภคผักและผลไม้ที่มีกากหรือเส้นใยมาก ๆ
     
     





 

บทความที่เกี่ยวข้อง
มะเร็งและเนื้องอกในระบบประสาท
มะเร็งและเนื้องอกในระบบประสาท เป็นโรคที่เกิดจากการแบ่งตัวรวดเร็วผิดปกติของเซลล์อื่นๆ ในระบบประสาท เช่น เนื้องอกจากเซลล์ประสาท เนื้องอกจากเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง เนื้องอกจาก ต่อมต่าง ๆ ในสมอง เนื้องอกจากเซลล์ปลอกประสาท เป็นต้น
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคมะเร็งที่พบมากในผู้ชาย อาการที่แสดงออกของมะเร็งต่อมลูกหมากคือปัสสาวะไม่พุ่งหรือปัสสาวะบ่อย แต่บางคนก็อาจไม่แสดงอาการใดเลยในระยะแรกเริ่มของโรค
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งผิวหนัง มีสาเหตุหลักมาจากเเสงแดดเเละรังสี UV อาการที่สังเกตได้ง่าย เมื่อมีแผลเรื้อรังที่ไม่หายภายใน 3-4 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังสังเกตได้จากไฝที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง หากมีการเปลี่ยนแปลง...
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ