แชร์

มะเร็งและเนื้องอกในระบบประสาท

อัพเดทล่าสุด: 5 เม.ย. 2024
343 ผู้เข้าชม

มะเร็งและเนื้องอกในระบบประสาท

มะเร็งและเนื้องอกในระบบประสาท

เนื้องอกของระบบประสาท แบ่งได้เป็น

  • เนื้องอกของสมอง กลุ่มนี้พบได้มากที่สุดประมาณ 75 %
  • เนื้องอกของไขสันหลัง พบได้ประมาณ 20 %
  • เนื้องอกของประสาทส่วนปลาย พบน้อยกว่า 5%

---

สาเหตุการเกิดโรค

สาเหตุของเนื้องอกระบบประสาททั้งในผู้ใหญ่และเด็ก ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่ามีการเจริญแบ่งตัวรวดเร็วผิดปกติของเซลล์อื่น ๆ ในระบบประสาท เช่น เนื้องอกจากเซลล์ประสาท เนื้องอกจากเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง เนื้องอกจาก ต่อมต่าง ๆ ในสมอง เนื้องอกจากเซลล์ปลอกประสาท เป็นต้น

---

อาการของโรค

  • อาการของเนื้องอกในสมอง คือ ปวดศีรษะ ตามัว อาเจียน เป็นอัมพาตแขน ขา ตาบอด เดินเซ หูหนวก ชักกระตุก ความจำเสื่อม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าก้อนเนื้องอกนั้นเกิดขึ้นที่ใด และกดอวัยวะส่วนใดของสมอง
  • อาการของเนื้องอกในไขสันหลัง คือ ปวดหลัง แขนขาชาและอ่อนแรง เดินเซ เดินไม่ถนัดหรือเป็นอัมพาต การควบคุมการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะลำบาก
  • อาการของเนื้องอกที่ประสาทส่วนปลาย คือ คลำพบก้อนหรือรู้สึกชา หรือร่วมกับ อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ

อาการต่าง ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ อาจเกิดจากสาเหตุหรือโรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เนื้องอกก็ได้ จึงควรพบแพทย์เพื่อทำการ ตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดต่อไป บางครั้ง อาจต้องอาศัยวิธีตรวจพิเศษร่วมด้วย เช่น การเอกซเรย์ การตรวจเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น

---

การวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง

นอกเหนือจากการซักประวัติและตรวจร่างกายแล้ว แพทย์อาจทำการตรวจเพิ่มเติมด้วยการตรวจสมองโดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้เห็นภาพในสมอง ช่วยให้แพทย์สามารถบอกชนิดของเนื้องอกหรือคาดการณ์ได้มากขึ้นว่าเนื้องอกนั้นน่าจะเป็นอะไร รวมถึงช่วยวางแผนในการรักษาได้ด้วย

---

แนวทางการรักษาเนื้องอกในสมอง

มีอยู่ 3 วิธีใหญ่ๆ คือ การผ่าตัด การฉายรังสี และ การให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเลือกแนวทางการรักษาโดยพิจารณาจากหลายปัจจัย อาทิ อาการของผู้ป่วย ตำแหน่งของเนื้องอก และขนาดของเนื้องอก หากผู้ป่วยมีเนื้องอกที่ไม่ได้ทำให้เกิดอาการและมีขนาดเล็กมาก อยู่ในตำแหน่งของสมองที่ไม่ได้ทำให้เกิดการสูญเสียการทำงานของร่างกาย อาจเพียงแค่ติดตามอาการเพื่อดูว่ามีการขยายตัวของเนื้องอกเพิ่มขึ้นหรือไม่

ถ้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจึงค่อยทำการรักษา แต่ถ้าเนื้องอกมีขนาดใหญ่พอสมควรและทำให้เกิดอาการ เช่น อ่อนแรงหรือปวดศีรษะมาก ก็จำเป็นต้องทำการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้องอกออกไป ในกรณีที่ผ่าตัดเนื้องอกออกไปแล้ว พบว่าเป็นเนื้อร้ายก็อาจต้องทำการฉายรังสีหรือให้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วย


บทความที่เกี่ยวข้อง
มะเร็งระบบทางเดินปัสสาวะ และอวัยวะสืบพันธ์ุชาย
มะเร็งระบบทางเดินปัสสาวะ และอวัยวะสืบพันธ์ุชาย ระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ชาย ประกอบด้วยไต, กรวยไต, ท่อไต, กระเพาะปัสสาวะ, ต่อมลูกหมาก, อวัยวะเพศชายหรือองคชาติ, ลูกอัณฑะ, ถุงอัณฑะ
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคมะเร็งที่พบมากในผู้ชาย อาการที่แสดงออกของมะเร็งต่อมลูกหมากคือปัสสาวะไม่พุ่งหรือปัสสาวะบ่อย แต่บางคนก็อาจไม่แสดงอาการใดเลยในระยะแรกเริ่มของโรค
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งผิวหนัง มีสาเหตุหลักมาจากเเสงแดดเเละรังสี UV อาการที่สังเกตได้ง่าย เมื่อมีแผลเรื้อรังที่ไม่หายภายใน 3-4 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังสังเกตได้จากไฝที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง หากมีการเปลี่ยนแปลง...
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ