เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาเป็นแหล่งสำคัญของ พอลิแซ็กคาไรด์ หลายชนิดมีฤทธิ์ต่อการทำงานของเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน ส่วนใหญ่เป็น พอลิแซ็กคาไรด์ ที่พบเป็นโฮโมไกลแคน (homoglycan) คือ พอลิแซ็กคาไรด์ ที่ประกอบด้วยมอนอแซ็กคาไรด์ (monosaccharide) ชนิดเดียวหรือเฮเทอร์โรไกลแคน (heteroglycan) พอลิแซ็กคาร์ไรด์ที่ประกอบด้วยมอโนแซ็กคาไรด์ 2 ชนิด หรือมากกว่าและสามารถรวมกับโปรตีนเพื่อสร้างเปปทิโดไกลแคน (peptidoglycan) หรือสร้างพอลิแซ็กคาไรด์เชิงซ้อน (polysaccharide protein complex) จากการรายงานพบพอลิแซ็กคาไรด์ที่มีฤทธิ์ต่อการทำงานของเซลล์ในภูมิคุ้มกันเพื่อยับยั้งเซลล์มะเร็งครั้งแรก ได้แก่ เลนทิแนน (lentinan) เบต้าหนึ่งสามดีกลูแคนต่อด้วยกิ่งเบต้าหนึ่งหก (β-1,3-D-glucan with β-1,6 branched) ที่ได้จากการสกัดจากเห็ดหอมในประเทศญี่ปุ่นปี ค.ศ.1969
ต่อมามีการรายงานการค้นพบพอลิแซ็กคาไรด์ชนิดใหม่ ที่มีฤทธิ์ต่อการทำงานของเซลล์ในภูมิคุ้มกันที่สกัดได้จากดอกเห็ดต่างๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยมา จนถึงปลายปี ค.ศ. 1980 พบพอลิแซ็กคาไรด์ชนิดเบต้ากลูแคน 2 ชนิด คือ ชิโซไฟลแลน (schizophyllan) ที่สกัดได้จากดอกเห็ดตีนตุ๊กแกหรือเห็ดแครง (Schizophyllum commune) และพอลิแซ็กคาไรด์เครสทินหรือพีเอสเค (Polysaccharide Krestin, PSK) สกัดจากดอกเห็ดขอนหลากสีหรือเห็ดหางไก่งวง (Trametes versicolor) ซึ่งพบว่าเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ดี
สารเบต้ากลูแคน (β-glucan) คือสารประกอบน้ำตาลหลายโมเลกุล ที่เรียกว่า พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) ซึ่งประกอบด้วย น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว คือ น้ำตาลกลูโคส (D-glucose) เชื่อมโยงกันด้วยพันธะเบต้าไกลโคซิดิก (β-glycosidic) สารเบต้ากลูแคนจะมี 1,3 β-glucan เป็นโครงสร้างหลักบริเวณกลาง (backbone) และมีสายแตกแขนงกิ่งออกมา (branch) 1,4 β-glucan หรือ 1,6 β-glucan สามารถเรียกได้อีกอย่างว่า 1,3/1,4 β-glucan หรือ 1,3/1,6 β-glucan
1. ฤทธิ์ปรับภูมิคุ้มกัน (Immunomodulation activity)
2. ฤทธิ์การยับยั้งเนื้องอก (Anti-tumor activity)
3. ฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ (Anti-inflammation activity)
(ปัจจุบันมีข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นพิษหรือความปลอดภัยในการใช้สารเบต้ากลูแคนที่ได้จากเห็ดจำนวนน้อยและยังเป็นข้อมูลที่ทดลองในสัตว์ทดลอง)
สารเบต้ากลูแคน (β-glucan) เป็นสารจําพวกพอลิแซคคาไรด์ (Polysaccharide) ที่ประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคสจำนวนมาก พบได้ทั้งใน ยีสต์ เห็ด ข้าวโอ๊ต และข้าวบาร์เลย์ เป็นต้น ในปัจจุบันพบว่า มีการนําสารเบต้ากลูแคนมาใช้กันเป็นจํานวนมาก ทั้งใช้เพื่อการบริโภค และใช้เป็นโภชนเภสัช (nutraceutical) ซึ่งหมายถึงอาหารที่มีฤทธิ์ทางยา
จากการศึกษาพบว่า สารเบต้ากลูแคน มีฤทธิ์ในการเพิ่มการทํางานของระบบภูมิคุ้มกนของร่างกาย (Wasser, 2002; Pelizon et al., 2005;Alaubydi and Abed, 2011) สารเบต้ากลูแคน มีฤทธิ์ในการยับยั้งกระบวนการเกิดเนื้องอกและการเกิดมะเร็ง (Lin and Zhang, 2004) สารเบต้ากลูแคนยังมีฤทธิ์ลดระดับไขมัน และระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด (Chen and Raymond, 2008; Dong et al., 2011; Othman et al., 2011) และนอกจากนั้นยังพบว่าสารเบต้ากลูแคนมีฤทธิ์ในการลดการอักเสบ (Kim et al., 2007) ต้านการติดเชื้อแบคทีเรีย (Hetland et al., 2013) รา (Vediyappan et al., 2011; Mitchell et al., 2013) ไวรัส(Gao et al., 2003) และปรสิต (Yun et al., 2003) ได้อีกด้วย
ชื่อไทย
สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ
ฤทธิ์ต่อการทำงานของเซลล์ในภูมิคุ้มกัน
เห็ดเข็มทอง
(Golden needle mushroom)
Glyoprotein, peptidoglycan, (FVP)
เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไนโตรเจนออกไซด์ (NO) อินเตอร์ลิวคินหนึ่ง (IL-1) และทีเอ็นเอฟแอลฟา (TNF-α)
เห็ดหลินจือ
(Reishi, Ligzhi, spirit plant)
50 types of polysaccharide, Ganoderan, Heteroglycan, manoglucan, glycopeptide
กระตุ้นการทำงานของทีเอ็นเอฟแอลฟา (TNF-α) อินเตอร์ลิวคินหนึ่ง (IL-1) อินเตอร์ลิวคินแกมมา (TNF- γ) และเอ็นเอฟเคบีตา (NF-kβ)
เห็ดไมตาเกะ
(Hen of the woods, Maitake)
Grifolan (1-6-monoglucosyl-branched β-1, 3-D-glucan), proteoglycan, heteroglycan, galactomannan
เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแมโครฟาจอินเตอร์ลิวคินหนึ่งและอินเตอร์ลิวคินหก (IL-1, IL-6) และทีเอ็นเอฟแอลฟา (TNF-α)
เห็ดหอม
(Shitake, black forest mushroom, golden oak mushroom)
Lentinan, glucan, mannoglucan, proteoglycan
ส่งเสริมการสร้างไซโตไคน์และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแมโคฟาจ
เห็ดนางฟ้า
(Oyster mushroom)
Pleuran, heteroglactan, proteoglycan
เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินเตอร์ลิวคินสี่ (IL-4) และอินเตอร์ฟีรอนแกมมา (IFN- γ)
อ้างอิง: ขวัญเรือน นาคสุวรรณ์กุล, สารปรับปรุงภูมิคุ้มกันจากเห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา
Immunomodulators form Medicinal Mushroom, วารสารวิทยาศาสตร์ มข. ปีที่ 46 เล่มที่ 3 (2561):402-404